พล็อตแชมป์โลกคือ... เดส์ชองส์

สำหรับผมดิดีเยร์ เดส์ชองส์ คือเบื้องหลังความสำเร็จแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่สองของฝรั่งเศส



เส้นทางสู่แชมป์......

เริ่มเกมแรกพบกับออสเตรเลียแม้เก็บได้สามแต้มแต่ UFABET เดส์ชองส์ โดนวิจารณ์เยอะมาก กับฟอร์มการเล่นที่ไม่สมกับทีมเต็ง บอลเล่นไม่เป็นทรงอะไรเลย บุกไปตามความสามารถเฉพาะตัวแต่ยังดีที่ชนะและเก็บสามคะแนนได้

ทว่า...ในเชิงแทกติกวันนั้น เดส์ชองส์ พยายามแสดงออกมาให้เห็นในการปรับตัวเพื่อเกมที่ดีกว่าแต่มันก็ไม่ได้ดีอะไรเท่าไหร่สำหรับเกมแรกที่ยากลำบากอยู่เสมอนะครับ ซึ่งถ้าเราดูจากแทกติกแรกที่ เดส์ชองส์ วางแผนเจอออสเตรเลีย คงพอมองนึกภาพออก

11 คนแรก นำโดย โยริส แบกขวา เบนฌาแม็ง ปาวาร์ ที่ได้โอกาสแทน เบนฌาแม็ง เมนดี้ ซึ่งเจ็บ เซนเตอร์แบกคู่ ราฟาเอล วาราน กับ อุมตีตี้ และแบกซ้าย เอร์นานเดส ขณะที่แดนกลาง 3 คน จัด เอนโกโล กองเต้, ปอล ป๊อกบา และ โตลิสโซ

หน้าสามคนเลย...แบบตัวรุกเต็มพิกัดทั้ง อุสมาน เดมเบเล ของบาร์เซโลนา คีเลียน เอมบัปเป้ และ อองตวน กรีสมานน์

ปรากฏว่าไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เล่นไม่ค่อยเข้ากันสักเท่าไหร่ แม้มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง โอลิวิเยร์ ชิรูด์ กองหน้า พร้อมกับ แบลส มาตุยดี้ ลงเล่นเช่นเดียวกันกับ นาบิล เฟคีร์ โดยพัก กรีซมันน์, โตลิสโซ และ เดมเบเล

แต่ก็นั่นแหละ ไม่ได้มีอะไรทำให้มันแตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก

นัดที่สองจึงมีการเปลี้ยนแปลงแทกติกการเล่นจาก 4-3-3 ปรับมาเป็น 4-2-3-1 พร้อมทั้งเปิดตัว ชิรูด์ กองหน้าตัวเป้าลงสนามทันที โดย กรีสมานน์ ,มาตุยดี้, เอมบัปเป้ คือตัวสนับสนุนเกมรุก

ก็องเต้ กับ ป๊อกบา เล่นคู่กลาง.... (ซึ่งถ้า มูรินโญ พยายามใช้ ป๊อกบา เล่นมิดฟิลด์คู่แต่ ยังไม่เข้าที่เข้าทาง)

แนวคิดคือ...มาตุยดี้ ยืนด้านซ้าย เพื่อช่วยงาน เอร์นานเดส เมื่อต้องบุกและรับ เอมบัปเป้ ทางขวา ประสานงานกับ ปาวาร์ เมื่อต้องบุกและรับ กรีสมานน์ คือเพลย์เมคเกอร์ ในตัวรุก มี ป๊อกบา กับ กองเต้ เก็บกวาดและทำลายจังหวะคู่แข่งแดนกลางพร้อมทั้งสร้างป้อมปราการให้ วาราน และ อุมตีตี้

เท่ากับเมื่อตั้งรับ ฝรั่งเศสจะยืนเป็น 4-5-1 และเมื่อบุกจะเป็น 4-2-3-1

นอกจากปรับระบบการเล่นแล้ว "แทกติก" ของ เดส์ชองส์ เกมพบกับเปรูคือ เน้นคุมโซน และเปิดโอกาสให้เปรู เดินเกมเข้าหาเพื่อบุกใส่ฝรั่งเศสนั่นเอง ยังผลให้ แนวรุกฝรั่งเศสมีพื้นที่ในการเล่นมากขึ้นเมื่อต้องสวนกลับขึ้นไป

ชิรูด์ มีส่วนในการค้ำแดนหน้าและทำให้ทีมได้ประตูจากจังหวะที่ยิงในเขตโทษแล้วบอลแฉลบเข้าทาง เอมบัปเป้ เป็นประตูชัย...

นับจากนั้น 4-2-3-1 ก็ถูกใช้มาจนคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกด้วย 11 คนแรกชุดที่ชนะเปรู 1-0 พร้อมทั้งแทกติก "โซน เพรสซิง" ในแดนตัวเองและ ฉวยโอกาสสวนกลับทุกครั้งที่มีโอกาส ขณะที่ถ้าขึ้นเกมรุกเข้าหาคู่แข่งต้องหาจังหวะจบด้วยการยิงให้ได้

ลักษณะเกมแบบนี้มันคือ...การเล่นแบบล่อให้คู่แข่งเดินเกมเข้าหา และลดประสิทธิภาพ ลดความเชื่อมั่นในเกมรุกคู่แข่งลงด้วยการจำกัดโอกาส และทำลายความสามารถตัวรุกคู่แข่ง ซึ่งหมายความว่าการรุกก็จะด้อยลงตามจนประสิทธิภาพเหลือน้อยลงไปด้วย

เมื่อคู่แข่งทำอะไรไม่ได้เท่ากับลบจุดแข็งคู่แข่งลงไป บีบให้เกมตายไปทีละน้อยละน้อย จากนั้นพอพวกเขาโจมตี มันจะมีจังหวะกดดันได้ และมักได้ประตูโดยไม่ต้องใช้โอกาสอะไรมากมาย

ถ้าเป็นมวยคือต่อยไม่เยอะแต่ต่อยหนัก เข้าเป้า และเล่นถึงน็อคได้

แทกติกแบบนี้ของ เดส์ชองส์ ทำให้ทีมเล่นด้วยความมั่นใจมากขึ้นกองหลังแต่ละรัดกุม แดนกลางตัดเกม คุมเกม และคอยโจมตีเร็ว มีแนวรุกที่คล่องและเร็วอยู่เป็นต้นทุน โดยเฉพาะการใช้โอกาสที่ไม่เปลืองตรงนี้ใครเจอก็ท้อ

นัดชิงครองบอล 34% ได้ยิง 7 ครั้ง เข้ากรอบ 6ได้ 4 ประตู
ส่วนโครเอเชีย ครองบอล 66% ยิง 14 เข้ากรอบ 2 ได้ 2 ประตู

รุกอย่างมีประสิทธิภาพ

หลังจากปรับแทกติกเป็น 4-2-3-1 แล้วเล่นแบบคุมโซน คอยหาจังหวะโจมตีคู่แข่งขันเมื่อพวกเขาต้องถอยมาตั้งรับ เกมรุกสวนกลับเป็นอีกหนึ่งแทกติกที่น่ากลัว เพราะมี เอมบัปเป้ ที่มีความเร็ว กรีสมานน์ เคลื่อนที่ รับส่งเชื่อมเกมรุก ป๊อกบา ให้บอลได้เปรียบ เช่นเดียวกันกับ มาตุยดี ที่คล่องแคล่ว ตีโซนรับคู่แข่งแตก

ดังนั้นฝรั่งเศสจึงทำประตูอย่างหลากหลายรูปแบบ สมัคร UFABET นักเตะกองหลัง, กองกลาง, กองหน้า มีส่วนทำประตูได้หมด ทั้งในและนอกเขต, จุดโทษ, ลูกนิ่ง กระทั่งคู่แข่งทำเข้าตัวเอง

สรุป 14 ประตูฝรั่งเศส ;
ยิงนอกเขตโทษ : 4
ยิงในเขตโทษ : 3
จุดโทษ : 3
ทำเข้าตัวเอง : เบอิช, มานด์ซูคิช
ฟรีคิก : 1
เตะมุม : 1

คนทำประตู
4 ลูก : อองตวน กรีสมานน์,เอมบัปเป้
1 ลูก: ปาวาร์, วาราน, อุมตีตี้ , ป๊อกบา

ทั้งหมดหลายทั้งปวงนี้ของฝรั่งเศสเกิดจากผลงานของ ดีดีเยร์ เดส์ชองส์ ที่ได้บทเรียนจากความผิดพลาดในยูโร 2016 จนทำให้พวกเขาพลาดท่าแพ้คาบ้านต่อโปรตุเกส เดส์ชองส์ นำบทเรียนนี้มาแก้ไขตั้งแต่รอบคัดเลือกบอลโลก

กระทั่งในบอลโลกรอบสุดท้ายเขาเน้นกับสิ่งที่เป็นไปในแทกติกและมีการปรับตัวในการเล่นเพื่อให้ทีมของเขาดูรัดกุม นิ่ง ไม่หวั่นไหวต่อแรงกดดัน และความกดดันทุกเกม อีกทั้งพวกเขายังผ่านเกมที่ยากลำบาก

ชนะอดีตแชมป์โลกอาร์เจนติน่า, อุรุกวัย และล้มเบลเยียมทีมที่ร้อนแรงซึ่งชนะบราซิล "เต็งแชมป์" มา

ทุกเกมการแข่งขันมี "พลอต" ที่เล่นเพื่อทำลายความมั่นใจคู่แข่ง ลดประสิทธิภาพเกมรุกลง ทำให้เกมคู่แข่งตายไป พร้อมทั้งโยนความกดดันให้คู่แข่งจนต้องเสียประตู

ดิดีเยร์ เดส์ชองส์ จึงสมควรได้รับการยกย่องและนับเป็นมนุษย์คนที่สามของโลกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในฐานะนักเตะและโค้ช
ต่อจาก

ฟร้านส์ เบคเค่นบาวเออร์ (1990)
มาริโอ ซากัลโล (1970)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *